5 ประโยชน์ต่อสุขภาพและการใช้ชามะรุม
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ
บล็อกนี้ไม่ได้รับการอนุมัติจากกรมอนามัยท้องถิ่นของคุณ และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การวินิจฉัย การรักษา หรือคำแนะนำทางการแพทย์
ในบทความนี้:
- มะรุมคืออะไร
- 1. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
- 2. มีสารต้านการอักเสบ
- 3. ตัวช่วยในการย่อยอาหาร
- 4. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มพลังงาน
- 5. สุขภาพผิวและเส้นผมดีขึ้น
มะรุมคืออะไร
หนึ่งในสุดยอดอาหารสีเขียวที่มีชื่อเสียงและมีประโยชน์ที่สุดคือ moringa oleifera หรือรู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ “มะรุม” ต้นมะรุมเป็นพืชท้องถิ่นแถบเชิงเขาหิมาลายันของประเทศอินเดีย แต่ถูกเพาะปลูกโดยทั่วไปในแถบกึ่งแห้งแล้ง เขตร้อน และกึ่งเขตร้อนทั่วโลก
ต้นมะรุมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และแต่ละส่วนของต้นนั้นสามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์หรือทางโภชนาการได้ ในขณะที่ประโยชน์ของต้นมะรุมเป็นที่รู้จักในฝั่งตะวันตกเมื่อไม่นานนี้เท่านั้น มะรุมได้ถูกนำมาใช้ในอินเดียและชมพูทวีปมาก่อนหลายศตวรรษแล้ว ส่วนประกอบที่อุดมไปด้วยสารอาหารของต้นมะรุมทำให้มันเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรโด่งดังที่ถูกนำมาใช้ในยาอายุรเวทแผนโบราณ
จากคำกล่าวนั้นชาชนิดนี้ที่ผลิตจากใบมะรุมแห้งบดจึงถือเป็นหนึ่งในชาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดที่สามารถบริโภคได้โดยแท้จริง
ชามะรุมได้รับชื่อเสียงว่ามีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นมากมาย ต้นมะรุมโดยเฉพาะใบ ฝัก และเมล็ดมีสารพฤกษเคมีที่สำคัญหลากหลาย เช่น แทนนินและฟลาโวนอยด์ ซึ่งอยู่ในชามะรุมเมื่อเป็นใบบด
ประโยชน์ต่อสุขภาพและการใช้ที่สำคัญบางส่วนของชามะรุม
1. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ชามะรุม นั้นเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี และ บีตา-แคโรทีน Dr. Amy Shah แพทย์ทรงคุณวุฒิกล่าวว่า “สารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายด้าน และช่วยต่อต้านและกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันอาการเครียดออกซิเดชันที่อาจเป็นอันตรายได้”
ใบของต้นมะรุมยังอุดมไปด้วย เควอซิตินเช่นกัน แพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า “เควอซิตินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดคงที่ กำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคได้” ใบมะรุมยังมีกรดคลอโรเจนิก ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยนั้นอาจช่วยปรับและควมคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2. มีสารต้านการอักเสบ
ชามะรุมนั้นต้านการอักเสบโดยธรรมชาติเนื่องจากมีสารต้านการอักเสบที่รู้จักกันในชื่อไอโซไธโอไซยาเนตซึ่งบรรเทาอาการอักเสบระดับต่ำได้ Dr. Shah กล่าวว่า “อาการอักเสบถือเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าปกติของร่างกาย อย่างไรก็ตามการอักเสบเรื้อรังชี้ให้เห็นถึงปัญหาทางสุขภาพต่างๆ รวมไปถึงความดันโลหิตสูง” การค้นคว้าชี้ให้เห็นว่า ฟีนอลไกลโคไซด์และสารอื่นๆ ในมะรุมบ่งชี้ถึงการมีภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบได้
3. ตัวช่วยในการย่อยอาหาร
สารต้านการอักเสบใน ชามะรุม ช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้สบายท้อง และช่วยให้สุขภาพทางเดินอาหารโดยรวมดีขึ้น คุณสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียของชามะรุมยังช่วยให้การทำงานของลำไส้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมอีกด้วย “สุดยอดอาหารหลายชนิด เช่น มะรุมสกัด อาจช่วยให้ลำไส้แข็งแรงและทำงานอย่างถูกต้อง คุณสมบัติที่เป็นยาปฏิชีวนะสูงและต้านเชื้อแบคทีเรียของมะรุมอาจช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคในลำไส้ได้ ยิ่งไปกว่านั้นมะรุมมี วิตามินบีสูง ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารโดยรวม ลดอาการท้องอืด ท้องผูก และปัญหาการย่อยอาหารอื่นๆ ”
4. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มพลังงาน
ระดับประสิทธิภาพที่สูงของ วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ทำให้ชานี้เหมาะสำหรับป้องกันหวัดและไข้หวัดใหญ่ “สารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวซึ่งช่วยต่อสู้กับความเครียดออกซิเดชันอีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน”
ชามะรุมยังเป็นตัวกระตุ้นพลังงานที่ไม่มีคาเฟอีนอีกด้วย Dr. Shah กล่าวเสริมว่า “การหลีกเลี่ยงคาเฟอีนและเลือกตัวกระตุ้นพลังงานจากธรรมชาติเหมาะสำหรับการส่งเสริมวงจรการนอนหลับ/ตื่นที่ดีต่อสุขภาพ และรักษานาฬิกาชีวิตให้ปกติ”
5. สุขภาพผิวและเส้นผมดีขึ้น
คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพของ มะรุม มีสารเคมีเข้มข้นสูงชื่อว่า ‘ไซโตไคนิน’ สารตัวนี้ไม่เพียงแค่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายแต่ยังกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ และรักษาเสถียรภาพของ คอลลาเจนอีกด้วย ชามะรุมเปี่ยมไปด้วยโปรตีนหลากหลายชนิดเช่นเดียวกับกรดอะมิโนที่สำคัญเก้าชนิด และมีปริมาณวิตามินซีและบีรวมเพียงพออีกด้วย Dr. Shah อธิบายว่า “กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนที่ช่วยเพิ่มการเติบโตของเส้นผมและรักษาผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยเหตุนี้การบริโภคมะรุมเป็นประจำเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้สุขภาพผิวและเส้นผมดีขึ้น”
ข้อมูลอ้างอิง:
- https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213453016300362
- https://www.sciencedirect.com/topics/nursing-and-health-professions/phytochemical
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19324944/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4071966/
- https://arthritis-research.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13075-018-1597-9
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20435128/
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21771453/
- https://www.britannica.com/science/cytokinin