ครีเอทีนเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่พบในเซลล์กล้ามเนื้อเป็นหลัก ได้มาจากแหล่งอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์และอาหารทะเล โดยมีส่วนที่ร่างกายผลิตเล็กน้อย1 หากไม่มีอาหารเสริมใดๆ ครีเอทีนที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อของเรามักจะอิ่มตัวที่ประมาณ 60-80%2 เนื่องจากผู้ที่ทานมังสวิรัติไม่มีแหล่งที่มาที่สำคัญของครีเอทีนในอาหาร ครีเอทีนระดับพื้นฐานที่สะสมในกล้ามเนื้อของพวกเขามีแนวโน้มที่จะต่ำลง ดังนั้น พวกเขาจะได้รับประโยชน์ในระดับที่มากขึ้นจากการทานอาหารเสริม1,3 หน้าที่หลักของครีเอทีนคือการเติมเต็มการสะสมของอะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต (ATP) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ใช้สำหรับพลังงานภายในเซลล์ของเรา ในระหว่างการออกกำลังกายที่เข้มข้นช่วงสั้นๆ ความสามารถในการสร้าง ATP ใหม่อย่างรวดเร็วนั้นถูกจำกัดเป็นบางส่วนโดยครีเอตินินที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ

ครีเอทีนได้รับการศึกษาเป็นอย่างมากตั้งแต่ช่วงปี 1980 โดยมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยมากกว่า 1,000 ชิ้น เมื่อเสริมครีเอทีน ประโยชน์หลักด้านประสิทธิภาพคือความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้นในโรงยิมและในสนามแข่ง การศึกษาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพพบว่าการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงนั้นดีขึ้นประมาณ 10-20%4 ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาเกี่ยวกับผู้ชายที่ได้รับการฝึกแบบมีแรงต้าน กลุ่มที่ได้รับครีเอทีนสามารถออกกำลังเพิ่มได้โดยเฉลี่ย 1-2 ครั้งในท่าดันอกที่ทำห้าเซ็ตจนหมดเรี่ยวแรง5 แม้ว่าการทำเพิ่ม 1-2 ครั้งอาจไม่ดูเหมือนมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความสามารถในการทำซ้ำเพิ่มขึ้น 10-20% หมายถึงการสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและการเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น

ครีเอทีนได้ผลสำหรับทุกคนหรือไม่?

แม้ว่าครีเอทีนจะได้รับการศึกษาในผู้ชายเป็นหลัก แต่การศึกษาส่วนใหญ่ที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงก็ดูเหมือนจะให้ประโยชน์เหมือนกัน6-8 อันที่จริง การศึกษาบางชิ้นยังชี้แนะว่าผู้หญิงมีการตอบสนองต่อครีเอทีนมากกว่าผู้ชายอีกด้วย9 นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาการเสริมครีเอทีนอย่างกว้างขวางในผู้สูงอายุ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน10 น่าเสียดายที่ผลกระทบของครีเอทีนนั้นไม่ครอบคลุมทุกคน ดูเหมือนว่าจะมีการตอบสนองที่หลากหลายในแต่ละบุคคล ตั้งแต่แทบไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพเลยไปจนถึงการพัฒนาที่ค่อนข้างชัดเจน11 แม้ว่าบางคนอาจไม่มีการตอบสนองที่มากเท่ากับผู้อื่น แต่ก็อาจจะคุ้มค่าที่จะลองใช้ครีเอทีนดูสักครั้ง ครีเอทีนถือเป็นอาหารเสริมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงความสามารถในการออกกำลังกายและช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ2

ปลอดภัยหรือไม่?

เนื่องจากครีเอทีนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีข้อมูลการศึกษามากที่สุดเป็นเวลากว่า 30 ปี เราจึงมีหลักฐานยืนยันถึงความปลอดภัยมากมาย มีการกล่าวอ้างหลายประการว่าครีเอทีนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและกล้ามเนื้อเป็นตะคริว แต่การวิจัยที่ดีที่สุดไม่ได้แสดงผลเช่นนั้น12 นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดว่าครีเอทีนสามารถกระตุ้นปัญหาไตได้ ทว่า การศึกษาระยะสั้นและระยะยาวในกลุ่มประชากรที่หลากหลายตั้งแต่เด็กที่มีสุขภาพดีไปจนถึงป่วยและผู้สูงอายุต่างไม่ได้แสดงผลเชิงลบใดๆ13-15

มีผลข้างเคียงหรือไม่?

ผลข้างเคียงเพียงอย่างเดียวที่พบได้สม่ำเสมอในการศึกษาทั้งหมดคือการเพิ่มน้ำหนักเพียงเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกักเก็บน้ำภายในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะมีน้ำหนักเพิ่มจากครีเอทีน แต่การศึกษาส่วนใหญ่ได้แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่มีน้ำหนักประมาณ 75 กก. มีน้ำหนักเพิ่มโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 กก. โดยมีช่วงตั้งแต่ < 1 กก. จนถึง > 3กก.16,17

จะใช้ครีเอทีนอย่างไร?

ครีเอทีนมาในสูตรต่างๆ มากมาย แต่ครีเอทีนโมโนไฮเดรตนั้นถูกที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด และได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีมากที่สุด ครีเอทีนโมโนไฮเดรตมักมาในแบบเม็ดและแบบผงซึ่งมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน ผลของครีเอทีนจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อกล้ามเนื้ออิ่มตัวเพียงพอเท่านั้น คุณมีสองตัวเลือกเมื่อทานครีเอทีน: โหลดกับไม่โหลด

  • แบบโหลด: 0.3 ก./กก. ของน้ำหนักตัว ทานเป็นเวลา 5-7 วัน ตามด้วย 5 ก. ต่อวัน การโหลดช่วยให้กล้ามเนื้ออิ่มตัวด้วยครีเอทีนภายในเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์และจะเริ่มเห็นผลได้ ข้อเสียของการโหลดคือต้องทานครีเอทีนจำนวนมากต่อวัน แม้ว่าเราจะไม่ได้เห็นอาการอาหารไม่ย่อยอย่างสม่ำเสมอในการศึกษาวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็มีการศึกษาหนึ่งชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าภาวะนี้พบได้บ่อยเมื่อบริโภคในปริมาณที่มากกว่า 5 ก. ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค18
  • แบบไม่โหลด: ใช้ 5 ก. ทุกวัน โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์จนกว่ากล้ามเนื้อจะมีครีเอทีนจนอิ่มตัว ขอให้คุณอดทน

ผู้คนมักหารือเกี่ยวกับช่วงเวลาของการเสริมครีเอทีนที่สัมพันธ์กับช่วงการฝึกร่างกาย แต่ข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเวลาที่ควรบริโภคครีเอทีนเพื่อประโยชน์สูงสุดกลับไม่ได้ชัดเจนมาก การศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นที่ระยะเวลาของการทานครีเอทีน การศึกษาขนาดเล็กชิ้นเดียวในผู้ใหญ่สูงอายุไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการรับครีเอทีนก่อนและหลังออกกำลังกาย19 ในขณะที่การศึกษาเล็กๆ อีกชิ้นในนักเพาะกายรุ่นเยาว์พบว่าองค์ประกอบของร่างกายดีขึ้นเล็กน้อยและเพิ่มจำนวนการทำซ้ำสูงสุด (RM) สำหรับท่าดันอก20 หากปกติคุณบริโภคโปรตีนเชคหลังออกกำลังกาย คุณอาจเพิ่มครีเอทีนเข้าไปเพื่อประโยชน์ที่เป็นไปได้ แต่ไม่ต้องกังวลมากหากคุณทานครีเอทีนก่อนออกกำลังกาย

สำหรับอาหารเสริมเช่นคาเฟอีนนั้น ร่างกายของคุณจะเริ่มพัฒนาความทนทานและผลกระทบของสารดังกล่าวจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ครีเอทีนนั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากผลกระทบของครีเอทีนจะคงอยู่และคุณไม่ต้องหยุดเป็นพักๆ

บางคนสนับสนุนการบริโภคครีเอทีนร่วมกับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูงเพื่อปรับปรุงการดูดซึมและส่งเสริมการเก็บครีเอทีนในกล้ามเนื้อทั้งหมด เป็นความจริงที่ว่าคาร์โบไฮเดรตช่วยให้ครีเอทีนเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น แต่ไม่มีการศึกษาใดที่แสดงให้เห็นประโยชน์ด้านประสิทธิภาพจากกลยุทธ์นี้21,22

นอกจากครีเอทีนโมโนไฮเดรตแล้ว ยังมีครีเอทีนรูปแบบอื่นๆ เช่น ครีเอทีนไฮโดรคลอไรด์ (HCl) และครีเอทีนเอทิลเอสเตอร์ (CEE) วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไม่ได้สนับสนุนแนวคิดที่ว่าครีเอทีนรูปแบบเหล่านี้ดีกว่าครีเอทีนโมโนไฮเดรต23 ข้อได้เปรียบหลักของครีเอทีน HCl คือละลายในน้ำได้ง่ายกว่า แต่ก็มีราคาสูงกว่าเล็กน้อย บางคนอ้างว่าปริมาณรวมที่จำเป็นสำหรับครีเอทีน HCl นั้นน้อยกว่าแบบโมโนไฮเดรต แต่ไม่เคยมีการศึกษาในเรื่องนี้ ในทางกลับกัน CEE ดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับครีเอทีนโมโนไฮเดรต และดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพเท่ากับยาหลอก24

กล่าวโดยสรุปคือ ครีเอทีนปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และราคาถูก ทานครีเอทีนทุกวัน... ตามคำสั่งแพทย์!

อ้างอิง:

  1. Brosnan ME, Brosnan JT. The role of dietary creatine. Amino Acids. 2016;48(8):1785-1791.
  2. Kreider RB, Kalman DS, Antonio J, et al. International society of sports nutrition position stand : Safety and efficacy of creatine supplementation in exercise , sport , and medicine. . 2017:1-18.
  3. Burke DG, Chilibeck PD, Parise G, Candow DG, Mahoney D, Tarnopolsky M. Effect of creatine and weight training on muscle creatine and performance in vegetarians. Medicine and science in sports and exercise. 2003;35(11):1946-55.
  4. Kreider RB. Effects of creatine supplementation on performance and training adaptations. Molecular and Cellular Biochemistry. 2003;244(1-2):89-94.
  5. Volek JS, Kraemer WJ, Bush Ja, et al. Creatine supplementation enhances muscular performance during high-intensity resistance exercise. Journal of the American Dietetic Association. 1997;97(7):765-770.
  6. Kresta JY, Oliver JM, Jagim AR, et al. Effects of 28 days of beta-alanine and creatine supplementation on muscle carnosine, body composition and exercise performance in recreationally active females. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 2014;11(1):55.
  7. Larson-Meyer DE, Hunter GR, Trowbridge CA, et al. The effect of creatine supplementation on muscle strength and body composition during off-season training in female soccer players. Journal of Strength and Conditioning Research. 2000;14(4):434-442.
  8. Vandenberghe K, Goris M, Van Hecke P, Van Leemputte M, Vangerven L, Hespel P. Long-term creatine intake is beneficial to muscle performance during resistance training. Journal of applied physiology. 1997;83(6):2055-63.
  9. Branch JD. Effect of creatine supplementation on body composition and performance: A meta-analysis. International Journal of Sport Nutrition and Exercise Metabolism. 2003;13(2):198-226.
  10. Chilibeck PD, Kaviani M, Candow DG, Zello GA. Effect of creatine supplementation during resistance training on lean tissue mass and muscular strength in older adults: A meta-analysis. Open access journal of sports medicine. 2017;8:213-226.
  11. Syrotuik DG, Bell GJ. Acute creatine monohydrate supplementation: A descriptive physiological profile of responders vs. nonresponders. Journal of Strength and Conditioning Research. 2004;18(3):610-617.
  12. Kreider RB, Kalman DS, Antonio J, et al. International society of sports nutrition position stand: Safety and efficacy of creatine supplementation in exercise, sport, and medicine. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 2017;14(1):1-18.
  13. Gualano B, Ugrinowitsch C, Novaes RB, et al. Effects of creatine supplementation on renal function: A randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial. European journal of applied physiology. 2008;103(1):33-40.
  14. Groeneveld GJ, Veldink JH, van der Tweel I, et al. A randomized sequential trial of creatine in amyotrophic lateral sclerosis. Annals of neurology. 2003;53(4):437-45.
  15. Neves M, Gualano B, Roschel H, et al. Effect of creatine supplementation on measured glomerular filtration rate in postmenopausal women. Applied physiology, nutrition, and metabolism = Physiologie appliquee, nutrition et metabolisme. 2011;36(3):419-22.
  16. Powers ME, Arnold BL, Weltman AL, et al. Creatine supplementation increases total body water without altering fluid distribution. Journal of Athletic Training. 2003;38(1):44-50.
  17. Demant T, Rhodes E. Effects of creatine supplementation on exercise performance. Sports Medicine. 1999;28(1):49-60.
  18. Ostojic SM, Ahmetovic Z. Gastrointestinal distress after creatine supplementation in athletes: Are side effects dose dependent? Research in Sports Medicine. 2008;16(1):15-22.
  19. Candow DG, Zello GA, Ling B, et al. Comparison of creatine supplementation before versus after supervised resistance training in healthy older adults. Research in sports medicine (Print). 2014;22(1):61-74.
  20. Antonio J, Ciccone V. The effects of pre versus post workout supplementation of creatine monohydrate on body composition and strength. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 2013;10:1-8.
  21. Steenge GR, Simpson EJ, Greenhaff PL. Protein- and carbohydrate-induced augmentation of whole body creatine retention in humans. Journal of applied physiology 2000;89(3):1165-71.
  22. Green AL, Hultman E, Macdonald IA, Sewell DA, Greenhaff PL. Carbohydrate ingestion augments skeletal muscle creatine accumulation during creatine supplementation in humans. The American journal of physiology. 1996
  23. Jäger R, Purpura M, Shao A, Inoue T, Kreider RB. Analysis of the efficacy, safety, and regulatory status of novel forms of creatine. Amino acids. 2011;40(5):1369-1383.
  24. Spillane M, Schoch R, Cooke M, et al. The effects of creatine ethyl ester supplementation combined with heavy resistance training on body composition, muscle performance, and serum and muscle creatine levels. Journal of the International Society of Sports Nutrition. 2009;6:1-14.