กรดไขมันโอเมก้า 3 หรือที่เรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนหรือ PUFA มีบทบาทสำคัญในเชิงสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีประโยชน์มากมายสำหรับหัวใจ สมอง ลำไส้ และข้อต่อเนื่องจาก resolvins ซึ่งเป็นเมแทบอไลต์ที่ออกฤทธิ์ที่การศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดการอักเสบได้


กรดไขมันโอเมก้า 3 ประกอบไปด้วย:

  • กรดอัลฟา-ไลโนเลนิก  (ALA กรดไขมันโอเมก้า 3) ซึ่งสามารถพบได้ในเมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท ถั่วเหลือง เมล็ดเจียและ เมล็ดป่าน
  • กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA หรือกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก) ซึ่งมักพบในน้ำมันปลา น้ำมันเคยและไข่ (หากไก่ได้รับอาหาร EPA)
  • กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA กรดไขมันโอเมก้า 3) เป็นส่วนประกอบจำนวนมากของสมอง ผิวหนัง และดวงตาของมนุษย์ แม้ว่าจะกรดไขมันโอเมก้า 3 จะมีความสำคัญ แต่ก็ไม่ถือว่า "จำเป็น" เนื่องจากร่างกายสามารถผลิตได้เมื่อมีการบริโภคกรดอัลฟาไลโนเลนิก (ALA) ที่เพียงพอ

ผลการศึกษาในปี 2014 พบว่าผู้ใหญ่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ไม่ได้บริโภคตามคำแนะนำรายสัปดาห์สำหรับกรดไขมันโอเมก้า 3 โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันไม่ได้บริโภคตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน ซึ่งแนะนำการบริโภคปลาที่มีสารปรอทต่ำในปริมาณ 3.5 ออนซ์ต่อมื้อ จำนวนสองมื้อต่อสัปดาห์ ข้อบกพร่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในอเมริกาเหนือ แต่ยังรวมถึงทั่วทั้งยุโรป ตะวันออกกลาง และบางส่วนของเอเชียอีกด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากมีภาวะทั่วไปหลายอย่างที่สามารถได้รับประโยชน์จากการบริโภคโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ

โอเมก้า 3 และ ADHD

โรคสมาธิสั้นหรือ ADHD เป็นภาวะปกติที่ผู้คนทุกวัยต้องเผชิญ สำหรับเด็กที่อยู่ในโรงเรียนแบบดั้งเดิม ADHD อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอและส่งผลเสียต่อความมั่นใจในตนเอง ผู้ใหญ่หลายล้านคนก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในที่ทำงานและในความสัมพันธ์ส่วนตัว ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์อาจสามารถช่วยได้ แต่ก็ไม่ได้ปราศจากผลข้างเคียง จากการศึกษาในปี 2016 แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 อาจมีประโยชน์ในการรักษาผู้ที่มีอาการสมาธิสั้น การศึกษาอื่นๆ ก็แสดงให้เห็นประโยชน์เช่นกัน

โอเมก้า 3 และความวิตกกังวล

โรควิตกกังวลส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก ซึ่งต้องใช้ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ และอาจเป็นการสร้างนิสัยพึ่งพายาสำหรับบางคนได้ ผู้คนจำนวมากกำลังมองหาทางเลือกอื่น การวิเคราะห์อภิมานปี 2018 ใน JAMA ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 2,240 คนจาก 11 ประเทศสรุปว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดอาการวิตกกังวลทางคลินิกได้ การศึกษาอื่นพบข้อค้นพบที่คล้ายคลึงกัน

โอเมก้า 3 และข้ออักเสบ

เมื่ออายุมากขึ้น โรคข้อเข่าเสื่อมอาจส่งผลต่อข้อต่อ ซึ่งมักทำให้เกิดอาการตึงในตอนเช้าและเคลื่อนไหวลำบาก สำหรับหลายๆ คน ความเจ็บปวดนี้อาจดีขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว แต่การลดการอักเสบในร่างกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ น้ำมันปลาโอเมก้า 3 (EPA/DHA) สามารถช่วยได้ ฉันมักแนะนำน้ำมันปลาโอเมก้า 3 ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการข้ออักเสบและเห็นได้ถึงผลดี บ่อยครั้ง การทำเช่นนี้ช่วยให้ผู้ป่วยลดการพึ่งพายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, diclofenac) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและไตได้

การศึกษาแสดงให้เห็นว่ากรดไขมันที่จำเป็นช่วยลดความเจ็บปวดและลดการใช้ NSAID การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าอาการตึงของข้อต่อลดลงเมื่อบริโภคน้ำมันปลาทุกวัน

โอเมก้า 3 และโรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคปอดอักเสบที่สามารถรักษาย้อนกลับได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ เนื้อเยื่อปอดหดตัว ในทั่วโลก ผู้คน 300 ล้านคนได้รับผลกระทบในขณะที่ผู้คนเกือบ 250,000 คนเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนของภาวะนี้ทุกปี โรคหอบหืดอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น หายใจหอบ ไอ และหายใจไม่อิ่ม

นักวิทยาศาสตร์ได้วัดการเพิ่มขึ้นของโปรตีนการอักเสบ (IL-17A และ TNF- α) ในเลือดของผู้ที่เป็นโรคหอบหืด นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าระดับเหล่านี้ลดลงในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเมื่อรับประทาน EPA 180 มก./ DHA 120 มก. ทุกวันเป็นเวลาสามเดือน นอกจากนี้ การทดสอบการทำงานของปอดในทางคลินิกยังดีขึ้นใน 72 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย

การศึกษาในปี 2017 ชี้ให้เห็นว่าการเสริมน้ำมันปลาโดยสตรีมีครรภ์สามารถช่วยลดอาการหอบหืดในเด็กหลังคลอดได้ (ควรปรึกษาแพทย์ของคุณหากตั้งครรภ์) การศึกษาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในเด็กในปี 2018 ได้ข้อสรุปว่า “การบริโภคปลาในช่วงต้นชีวิต (6-9 เดือน) และการบริโภคปลาทุกประเภทเป็นประจำ (อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง) ช่วยลดโรคหืดและหายใจหอบในเด็กอายุไม่เกินสี่ขวบครึ่ง ในขณะที่การบริโภคปลาที่มีไขมันอาจเป็นประโยชน์ในเด็กโต”

ในสุดท้ายนี้ งานศึกษาในปี 2016 ใน Nutrition Research Reviews ได้ข้อสรุปว่าการเสริมน้ำมันปลาโอเมก้า 3 อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด ในขณะที่การศึกษาอีกชิ้นในปี 2016 ใน Cytokine สรุปว่าโอเมก้า 3 เป็นวิธีการเสริมที่มีแนวโน้มดีในการจัดการกับโรคหอบหืด เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางธรรมชาติในการรักษาโรคหอบหืด

โอเมก้า 3 และอาการซึมเศร้า

อาการซึมเศร้าเป็นโรคทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านคน ซึ่งสาเหตุมีมากมาย ยาตามใบสั่งแพทย์อาจมีประโยชน์ แต่มักต้องใช้การทดลองในสูตรต่างๆ ก่อนที่จะพบว่าอะไรใช้ได้ดีที่สุดกับบุคคลนั้นๆ หลายคนจึงมองหาแนวทางอื่น และการเพิ่มประสิทธิภาพกรดไขมันที่จำเป็นของตนเองก็เป็นวิธีการหนึ่ง

จากการศึกษาในปี 2001 พบว่า EPA (กรดไขมันจำเป็น) สามารถช่วยรักษาอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้ การศึกษาในปี 2015 ใน Integrative Medicine Research สนับสนุนการใช้น้ำมันปลาโอเมก้า 3 ในการรักษาภาวะซึมเศร้า ในขณะที่การศึกษาในเด็ก 38 คนที่เป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลในปี 2017 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอาการซึมเศร้าส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 อาการวิตกกังวลของพวกเขาไม่ได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการศึกษานี้

การศึกษาผู้ใหญ่ในปี 2017 พบว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จะพิสูจน์ว่ามีประโยชน์เพียงพอในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานถึงอันตราย ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินผลเพิ่มเติม

โอเมก้า 3 และสุขภาพลำไส้

ลำไส้ที่มีสุขภาพดีมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม การติดต่อระหว่างสมองและลำไส้มีบทบาทสำคัญในด้านความรู้ความเข้าใจและสุขภาพกายโดยรวม ตามการศึกษาในปี 2017 ใน International Journal of Molecular Sciences กรดไขมันโอเมก้า 3 มีบทบาทสำคัญในการช่วยปรับสมดุลไมโครไบโอมในลำไส้และดูเหมือนว่าจะมีผลในด้านพรีไบโอติก การศึกษาในสัตว์ในปี 2016 ยังพบว่ากรดไขมัน โอเมก้า 3 สามารถปกป้องลำไส้จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ที่ดีต่อสุขภาพ

โอเมก้า 3 และโรคหัวใจ

โรคหัวใจคร่าชีวิตผู้คนนับล้านทั่วโลก ยาแผนปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง โคเลสเตอรอล และโรคเบาหวาน โดยหวังว่าจะลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจ และกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจมีบทบาทเช่นกัน

การศึกษาในปี 2013 ใน Annals of Internal Medicine ศึกษาผู้ชายในสหรัฐฯ 2,692 คนที่มีอายุ 69 ถึง 79 ปีและไม่มีประวัติโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ชายเหล่านี้มีข้อมูลระดับกรดไขมันในเลือดที่วัดในปี 1992 พวกเขาได้รับการติดตามมาจนถึงปี 2008 นักวิจัยพบว่าผู้ที่มีระดับ EPA และ DHA สูงกว่ามีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 17 และร้อยละ 23 ตามลำดับ พวกเขาสรุปว่าระดับ 3-PUFA เชิงรวมที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือด

ในการศึกษาผู้ป่วยโรคหัวใจวายในปี 2012 นักวิจัยสรุปว่าผู้ที่บริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA และ DHA) มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเสียชีวิตจากการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจกะทันหันถึง 45 เปอร์เซ็นต์ โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสเสียชีวิตจากสาเหตุใดๆ ก็ตามน้อยลง 15 เปอร์เซ็นต์

โอเมก้า 3 และไตรกลีเซอไรด์สูง

ไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทราบกันดีสำหรับโรคหัวใจ ดังนั้นการลดระดับเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการบริโภคกรดไขมันที่จำเป็นแล้ว การรับประทานอาหารก็มีความสำคัญในการช่วยลดกรดไขมันเหล่านี้ด้วย บริษัทยาได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการลดไตรกลีเซอไรด์ และได้พัฒนาน้ำมันปลาคุณภาพเหมือนยาซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีราคาสูง จึงทำให้หลายคนไม่สามารถซื้อได้ แคปซูลน้ำมันปลาที่หาซื้อได้ทั่วไปเป็นทางเลือกที่ดี

การศึกษาในปี 2016 ใน Lipids in Health and Disease สรุปว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 มีประโยชน์ในการลดไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ การศึกษาวิเคราะห์อภิมานปี 2017 ใน Atherosclerosis ซึ่งศึกษาผู้คน 1378 คนพบว่าการบริโภคปลาที่มีน้ำมันช่วยลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มระดับ HDL (คอเลสเตอรอลที่ดี) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่สำคัญสองประการสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ

โอเมก้า 3 และอาการปวดศีรษะข้างเดียว

อาการปวดศีรษะข้างเดียวเป็นอาการปวดศีรษะที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ อาการเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดงาน การป้องกันจึงสำคัญมาก การศึกษาในปี 2017 พบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 อาจมีประโยชน์ในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวโดยอาจลดการอักเสบในสมองได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดูแลอาการปวดศีรษะข้างเดียวด้วยวิธีธรรมชาติ

โอเมก้า 3 และโรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินเป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะทำให้มีผิวหนังที่แห้งและนูนขึ้น และอาจเป็นเรื่องลำบากใจสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์อาจสามารถช่วยได้ แต่ในบางครั้งจะมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่นนั้นแล้ว จึงมีการค้นหาวิธีรักษาแบบธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้กลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับหลายๆ คนนอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการขึ้นมาทันที เช่น ผลิตภัณฑ์จากนมหรือข้าวสาลี

การศึกษาในปี 2018 ใน Scientific Reports พบว่า Resolvin E1 ซึ่งเป็นเมแทบอไลต์ของโอเมก้า 3 สามารถอธิบายกลไกที่กรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินได้

การศึกษาในปี 2015 ใน Journal of the American Academy of Dermatology ได้ทบทวนการศึกษา 15 ฉบับ และการศึกษา 12 ฉบับในนั้นพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 มีประโยชน์ ในขณะที่อีกสามการทดลองไม่แสดงถึงประโยชน์

ตามการวิจัยดังกล่าว พบว่าผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินควรพยายามรักษาด้วยโอเมก้า 3 บางคนสังเกตเห็นพัฒนาการเพิ่มเติมเมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินดี ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่แนะนำมีตั้งแต่ 2,000 มก. ต่อวันจนถึง 10,000 มก. ต่อวันเมื่อทาน EPA/DHA ร่วมกัน

โอเมก้า 3 และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นภาวะภูมิต้านทานผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีข้อต่อ โดยเฉพาะกระดูกและกระดูกอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดข้ออักเสบอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง แม้ว่าผู้คนหนึ่งในสามที่ใช้ยาตามใบสั่งแพทย์อาจสังเกตเห็นอาการที่ดีขึ้น หลายคนกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงในระยะยาวและแสวงหาแนวทางที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นเพื่อลดอาการ กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจเป็นหนึ่งในการบำบัดดังกล่าว

การศึกษาในปี 2010 แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของน้ำมันปลาโอเมก้า 3 ในการช่วยลดอาการปวดและข้อบวมในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การศึกษาในปี 2016 ใน Global Journal of Health Science ได้ประเมินผู้ป่วย 60 รายที่ใช้ DMARD (ยาต้านโรคไขข้อที่ปรับเปลี่ยนโรค) สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อเทียบกับยาหลอก ผู้ที่ใช้กรดไขมันโอเมก้า 3 สังเกตเห็นอาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และเจ็บปวดน้อยลง การศึกษาปี 2015 ใน Annals of Rheumatic Diseases ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับการรักษาตามปกติสำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีอาการดีขึ้นเมื่อเสริมน้ำมันปลาในการบริโภค

การศึกษาในปี 2019 ไม่ได้แสดงหลักฐานใดๆ ที่แสดงว่าการบริโภคปลาหรือน้ำมันปลาในปริมาณมากนั้นสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ ณ จุดนี้ ดูเหมือนว่าประโยชน์หลักของน้ำมันปลาคือการรักษาเมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว

โอเมก้า 3 และภาวะบาดเจ็บสมอง

เราเข้าใจภาวะบาดเจ็บสมอง (TBI) มากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเราทราบได้มากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาผู้เล่นอเมริกันฟุตบอลอาชีพและภาวะแทรกซ้อนที่พวกเขามีเนื่องจากการถูกกระทบกระแทกหลายครั้ง ทหารก็ได้รับผลกระทบจาก TBI เช่นกัน เนื่องจากการได้รับบาดเจ็บจากการระเบิด

นักวิทยาศาสตร์ตระหนักว่าการอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองได้รับบาดเจ็บ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและกรดอะมิโนที่กระตุ้นเพิ่มขึ้น การศึกษาในปี 2012 ใน American Journal of Emergency Medicine ชี้ให้เห็นว่าการให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ในระยะเริ่มต้นสามารถช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้น และส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

การศึกษาปี 2016 ใน Journal of The American College of Nutrition ได้กล่าวถึงความปลอดภัยโดยรวมของกรดไขมันโอเมก้า 3 และแนะนำว่าให้พิจารณาเป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับอาการบาดเจ็บที่สมอง ซึ่งใช้กับเป็นนักกีฬา ทหาร หรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ

ผลข้างเคียงหรือความเสี่ยงต่อเลือดออก?

แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้น้ำมันปลาก่อนทำการผ่าตัด จากการศึกษาในปี 2017 ซึ่งวิจัยการศึกษาอื่นๆ อีก 52 ฉบับพบว่าคุณไม่จำเป็นต้องหยุด เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงเลือดออกเพิ่มขึ้นในระหว่างหรือหลังการผ่าตัดที่อาจเกิดจากการเสริมน้ำมันปลา อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

บางคนอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยจากอาหารเสริมน้ำมันปลา หากเป็นเช่นนี้ คุณสามารถพิจารณาใช้แบรนด์อื่นได้

ปริมาณที่แนะนำ:

ส่วนใหญ่บริโภคน้ำมันปลาระหว่าง 500 มก. ถึง 4,000 มก. ต่อวัน หากรับประทานปริมาณมาก ควรรับประทานครึ่งหนึ่งในตอนเช้าและอีกครึ่งหนึ่งในตอนเย็น นอกจากนี้ยังมี EPA/DHA แบบมังสวิรัติให้เลือกอีกด้วย น้ำมันปลามีอยู่ในรูปของเหลว แคปซูล และแม้แต่แบบกัมมี่

อ้างอิง:

  1. Moro, K., Nagahashi, M., Ramanathan, R., Takabe, K., & Wakai, T. (2016). Resolvins and omega three polyunsaturated fatty acids: Clinical implications in inflammatory diseases and cancer. World Journal of Clinical Cases, 4(7), 155-64
  2. Am J Clin Nutr. 2015 Dec;102(6):1357-64. doi: 10.3945/ajcn.115.116384. Epub 2015 Nov 11.
  3. Papanikolaou, Yanni, Brooks, James, Reider, Carroll, & Fulgoni, Victor L. (2014). U.S. adults are not meeting recommended levels for fish and omega-3 fatty acid intake: Results of an analysis using observational data from NHANES 2003-2008. Nutrition Journal,13(1), Nutrition Journal, April 2, 2014, Vol.13(1). 
  4. Accessed February 11, 2019  https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/fats/fish-and-omega-3-fatty-acids
  5. Königs A, Kiliaan AJ. Critical appraisal of omega-3 fatty acids in attention-deficit/hyperactivity disorder treatment. Neuropsychiatr Dis Treat. 2016;12:1869-82. Published 2016 Jul 26. doi:10.2147/NDT.S68652
  6. Su KP, Tseng PT, Lin PY, et al. Association of Use of Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acids With Changes in Severity of Anxiety Symptoms: A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Netw Open. 2018;1(5):e182327. Published 2018 Sep 14. doi:10.1001/jamanetworkopen.2018.2327
  7. Arch Med Res. 2012 Jul;43(5):356-62. doi: 10.1016/j.arcmed.2012.06.011. Epub 2012 Jul 24.
  8. Explore (NY). 2017 Jul - Aug;13(4):279-280. doi: 10.1016/j.explore.2017.04.017. Epub 2017 Apr 21.
  9. Pediatr Allergy Immunol. 2018 Mar 9. doi: 10.1111/pai.12889. [Epub ahead of print]
  10. Nutr Res Rev. 2016 Jun;29(1):1-16. doi: 10.1017/S0954422415000116. Epub 2016 Jan 26.
  11. Farjadian, Moghtaderi, Kalani, Gholami, & Hosseini Teshnizi. (2016). Effects of omega-3 fatty acids on serum levels of T-helper cytokines in children with asthma. Cytokine, 85, 61-66.
  12. Int J Clin Pract. 2001 Oct;55(8):560-3.
  13. Wani AL, Bhat SA, Ara A. Omega-3 fatty acids and the treatment of depression: a review of scientific evidence. Integr Med Res. 2015;4(3):132-141.
  14. [1] Trebatická J, Hradečná Z, Böhmer F, et al. Emulsified omega-3 fatty-acids modulate the symptoms of depressive disorder in children and adolescents: a pilot study. Child Adolesc Psychiatry Ment Health. 2017;11:30. Published 2017 Jul 5. doi:10.1186/s13034-017-0167-2
  15. Costantini L, Molinari R, Farinon B, Merendino N. Impact of Omega-3 Fatty Acids on the Gut Microbiota. Int J Mol Sci. 2017;18(12):2645. Published 2017 Dec 7. doi:10.3390/ijms18122645
  16. Int J Obes (Lond). 2016 Jun;40(6):1039-42. doi: 10.1038/ijo.2016.27. Epub 2016 Feb 15.
  17. Mozaffarian D, Lemaitre RN, King IB, Song X, Huang H, Sacks FM, et al. Plasma Phospholipid Long-Chain ω-3 Fatty Acids and Total and Cause-Specific Mortality in Older Adults: A Cohort Study. Ann Intern Med. 2013;158:515–525. doi: 10.7326/0003-4819-158-7-201304020-00003
  18. Lipids Health Dis. 2016 Jul 22;15(1):118. doi: 10.1186/s12944-016-0286-4.
  19. Atherosclerosis. 2017 Nov;266:87-94. doi: 10.1016/j.atherosclerosis.2017.09.028. Epub 2017 Sep 28.
  20. Soveyd N, Abdolahi M, Bitarafan S, et al. Molecular mechanisms of omega-3 fatty acids in the migraine headache. Iran J Neurol. 2017;16(4):210-217.
  21. Sawada Y, Honda T, Nakamizo S, et al. Resolvin E1 attenuates murine psoriatic dermatitis. Sci Rep. 2018;8(1):11873. Published 2018 Aug 8. doi:10.1038/s41598-018-30373-1
  22. Millsop JW, Bhatia BK, Debbaneh M, Koo J, Liao W. Diet and psoriasis, part III: role of nutritional supplements. J Am Acad Dermatol. 2014;71(3):561-9.
  23. James, M., Proudman, S., & Cleland, L. (2010). Fish oil and rheumatoid arthritis: Past, present and future. Proceedings of the Nutrition Society,69(3), 316-323.
  24. R ajaei E, Mowla K, Ghorbani A, Bahadoram S, Bahadoram M, Dargahi-Malamir M. The Effect of Omega-3 Fatty Acids in Patients With Active Rheumatoid Arthritis Receiving DMARDs Therapy: Double-Blind Randomized Controlled Trial. Glob J Health Sci. 2015;8(7):18-25. Published 2015 Nov 3. doi:10.5539/gjhs.v8n7p18
  25. Ann Rheum Dis. 2015 Jan;74(1):89-95. doi: 10.1136/annrheumdis-2013-204145. Epub 2013 Sep 30.
  26. Sparks JA, O'Reilly ÉJ, Barbhaiya M, et al. Association of fish intake and smoking with risk of rheumatoid arthritis and age of onset: a prospective cohort study. BMC Musculoskelet Disord. 2019;20(1):2. Published 2019 Jan 5. doi:10.1186/s12891-018-2381-3
  27. Lewis M, Ghassemi P, Hibbeln J. Therapeutic use of omega-3 fatty acids in severe head trauma. Am J Emerg Med. 2012;31(1):273.e5-8.
  28. J Am Coll Nutr. 2016 Jul;35(5):469-75. doi: 10.1080/07315724.2016.1150796.
  29. Begtrup KM, Krag AE, Hvas AM. No impact of fish oil supplements on bleeding risk: a systematic review. Dan Med J. 2017 May;64(5). pii: A5366. PubMed PMID: 28552094.