ทำไมกรดไขมันโอเมก้า 3 ถึงสำคัญนัก
DISCLAIMER
บล็อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การวินิจฉัย...
ในบทความนี้:
- ผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกนและมังสวิรัติมี EPA และ DHA ในระดับต่ำจนเป็นอันตราย
- ทำไมกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวถึงสำคัญนัก
- กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวและสุขภาพสมอง
- อาหารเสริมน้ำมันปลาและสุขภาพหัวใจ
- การเสริมน้ำมันปลาและอาการอักเสบ
- คำแนะนำสั้นๆ เกี่ยวกับการเลือกแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวที่มีคุณภาพสูง
- แล้วทำไมเราไม่ทานปลาเพิ่มล่ะ
โพสต์เดิมปี 2017 / ปรับปรุงเดือนธันวาคม 2022
ในขณะที่คนอเมริกันส่วนใหญ่รับน้ำมันโอเมก้า 6 ที่พบในเนื้อสัตว์และน้ำมันพืชส่วนใหญ่มากเกินไป แต่พวกเขากลับประสบปัญหาการขาดน้ำมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจและภาวะต่างๆ อีกประมาณ 60 ประการ รวมทั้งโรคภัยหลากหลายรูปแบบทั้งมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง และโรคเบาหวาน1
กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีสายโซ่ยาวกว่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพที่ดี เช่น กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) ที่พบในปลา โดยเฉพาะปลาน้ำเย็น เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาเฮอริ่ง และปลาแฮลิบัต แม้ว่าร่างกายสามารถเปลี่ยนกรดอัลฟา-ไลโนเลนิกซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 แบบสายโซ่สั้นได้จากน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย และวอลนัต แต่การรับกรดไขมันดังกล่าวจากอาหารเสริมน้ำมันปลาหรือสาหร่ายทะเลที่มี EPA+DHA เข้มข้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่ามาก นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าหลายคนมีปัญหาในการเปลี่ยนกรดอัลฟา-ไลโนเลนิกเป็นโอเมก้า 3 สายโซ่ยาว เช่น EPA และ DHA
ผู้ที่รับประทานอาหารแบบวีแกนและมังสวิรัติมี EPA และ DHA ในระดับต่ำจนเป็นอันตราย
กรดไขมันโอเมก้า 3 ตัวหลักในอาหารมังสวิรัติคืออัลฟา-ไลโนเลนิก (ALA) ซึ่งได้มาจากอาหารต่างๆ เช่น เมล็ดแฟลกซ์และน้ำมันแฟลกซ์ เมล็ดเจีย และวอลนัต แม้ว่า ALA บางส่วนจะเปลี่ยนเป็น EPA แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพ และการเสริม ALA จากน้ำมันแฟลกซ์มีผลในการเพิ่มระดับ DHA เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่น่าแปลกใจที่การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่รับประทานอาหารแบบมังสวิรัติและวีแกนมีระดับ DHA และ EPA ในเลือดต่ำกว่าผู้ที่รับประทานปลาหรืออาหารเสริมน้ำมันปลาอย่างมาก2
จากหลักฐานทางร่างกายที่สำคัญ คุณประโยชน์ทางสุขภาพของ EPA+DHA จะปรากฏเมื่อความเข้มข้นในเซลล์เม็ดเลือดแดงมีค่าเกิน 8% ระดับที่ต่ำกว่า 4% ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางสุขภาพต่างๆ ถึง 60 ประการ การศึกษาหลายชิ้นก่อนหน้านี้แสดงว่า ชาววีแกน ชาวมังสวิรัติ และผู้ที่รับประทานทั้งพืชและสัตว์แต่ไม่กินปลาหรืออาหารเสริมน้ำมันปลา โดยทั่วไปมีระดับ EPA+DHA ในเลือดต่ำกว่า 4%1
การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ชาวมังสวิรัติและวีแกนมีระดับ DHA และ EPA ในเลือดต่ำกว่าผู้ที่รับประทานปลาอย่างมาก ปัจจุบันมีสาหร่ายทะเลเป็นแหล่งอาหารที่ให้กรดไขมันโอเมก้า 3 อันมีค่าเหล่านี้แล้ว จากการวิเคราะห์ระดับกรดไขมันในชาววีแกนและมังสวิรัติ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องสำคัญที่คนกลุ่มนี้จะต้องใช้อาหารเสริมจากแหล่งสาหร่ายทะเลเหล่านี้2
การศึกษาชิ้นนี้ที่จัดทำขึ้นเพื่อระบุระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ในวีแกน และเพื่อกำหนดผลของอาหารเสริมโอเมก้า 3 แบบวีแกนต่อผลการตรวจเลือดจากสาหร่ายทะเล ซึ่งให้ EPA+DHA 254 มก. ต่อวันเป็นเวลา 4 เดือน3
จากวีแกน 165 คนที่เข้าร่วมในการศึกษาผลการตรวจเลือด มีผู้เข้าร่วมกลุ่มย่อย 46 คนที่มีดัชนีโอเมก้า 3 บรรทัดฐานที่ <4% ซึ่งจะได้รับอาหารเสริมโอเมก้า 3 แบบวีแกนเป็นเวลา 4 เดือน จากนั้นตรวจเลือดอีกครั้ง ระดับค่าเฉลี่ยของ EPA+DHA ในเลือดของชาววีแกนคือ 3.7% กล่าวคือมีชาววีแกนราว 2 จาก 3 คนที่มีระดับต่ำกว่า 4% และมี 1 ใน 3 คนที่มีระดับยิ่งต่ำกว่านั้น ซึ่งต่ำกว่า 3% ผลลัพธ์แสดงอย่างชัดเจนว่า มีชาววีแกนมากมายที่มีระดับโอเมก้า 3 ต่ำมาก
ในกลุ่มย่อยที่ได้รับอาหารเสริม EPA+DHA ที่ได้จากสาหร่ายทะเลขนาดไมโคร มีระดับในเลือดเพิ่มขึ้นจาก 3.1% เป็น 4.8% ผลลัพธ์นี้ระบุว่า การใช้ EPA+DHA ในขนาดค่อนข้างต่ำให้การตอบสนองที่ดีมาก ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าเพื่อให้ถึงเป้าหมาย 8% ในกลุ่มคนเหล่านี้ ขนาด EPA+DHA ที่เป็นไปได้คืออย่างน้อย 1,000 มก. ทุกวัน เมื่อใช้ EPA+DHA ที่มีแหล่งจากสาหร่ายทะเล
ทำไมกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวถึงสำคัญนัก
เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวมีความสำคัญนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของสารไขมันเหล่านี้ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทุกเซลล์มีเยื่อเซลล์ชั้นนอก รวมถึงเยื่อเซลล์ชั้นในที่ล้อมรอบส่วนประกอบในเซลล์ที่สำคัญไว้ เช่น ไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นส่วนผลิตพลังงานในเซลล์ของเรา
อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ EPA และ DHA จะส่งผลให้เยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนแปลง และหากไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แข็งแรง เซลล์จะสูญเสียความสามารถในการกักเก็บน้ำ สารอาหารที่จำเป็น และอิเล็กโทรไลต์ เซลล์เหล่านี้ยังจะสูญเสียความสามารถในการสื่อสารกับเซลล์อื่นและถูกควบคุมโดยฮอร์โมนควบคุมด้วย สรุปแล้วคือ เซลล์จะทำงานได้ไม่ถูกต้องและยังเสียหายง่ายขึ้นด้วย
การทำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังแทบทุกชนิด โดยเฉพาะมะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ และโรคหัวใจ ไม่น่าแปลกใจเลยที่กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวมีฤทธิ์ในการป้องกันอย่างมหาศาลต่อโรคเหล่านี้ทั้งหมด กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาว แต่ไม่ใช่กรดอัลฟา-ไลโนเลนิกนั้นยังเปลี่ยนเป็นสารประกอบควบคุมที่เรียกว่า เอโคซานอยด์ รีโซวิน โพรแทกติน และเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ด้วยผลที่มีต่อสารประกอบควบคุมเหล่านี้ กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวเป็นตัวกลางให้กับกระบวนการทางสรีรวิทยามากมาย ทำให้โอเมก้า 3 สายโซ่ยาวมีประโยชน์ในการฟื้นฟูการทำงานของเซลล์และส่งผลช่วยฟื้นฟูสุขภาพโดยรวม
ด้วยการปรับสมดุลการเผาผลาญเอโคซานอยด์ (พรอสตาแกลนดินและสารประกอบที่เกี่ยวข้อง กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวส่งผลดีต่ออาการอักเสบ ความปวด และการบวม และมีบทบาทสำคัญในการรักษาความดันโลหิตและการทำงานของหัวใจ กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังสำคัญต่อการทำงานที่ปกติของสมองและช่วยให้อารมณ์ดีด้วย
การศึกษาทุกชิ้นระบุว่า การมีระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวในเลือดสูง แต่ไม่ใช่กรดไลโมเลนิก มีความสัมพันธ์กับสุขภาพ ความสุขที่ดีกว่า และอายุขัยที่ยาวนานกว่า เกี่ยวกับการลดการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ การวิเคราะห์แบบรวมผลการวิจับจากการศึกษา 17 ชิ้นที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเลือด และความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ พบว่า ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ลดลง 15-18%) ในกลุ่มที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวในเลือดในระดับสูงสุดเทียบกับกลุ่มที่มีระดับต่ำสุด ความสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เห็นได้จากการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และสาเหตุอื่นๆ แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับระดับกรดอัลฟา-ไลโมเลนิก ผลการค้นพบบ่งบอกว่า ระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวในเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร4
กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวและสุขภาพสมอง
สมองมนุษย์ประกอบด้วยไขมันเป็นส่วนใหญ่ ประเภทของไขมันที่บริโภคเป็นประจำในอาหารมีบทบาทสำคัญต่อส่วนประกอบของไขมันในสมองและการทำงานของสมอง อาหารที่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว กรดไขมันสัตว์ คลอเรสเตอรอล และกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นส่วนใหญ่สร้างเยื่อหุ้มเซลล์ที่เหลวน้อยกว่าผู้ที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ในระดับที่เหมาะสม DHA มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อกำหนดสภาพของไหลที่จำเป็นบริเวณประสานประสาทระหว่างเซลล์สมอง ซึ่งส่งสัญญาณจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง5
กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวยังมีหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาทและการประสานสื่อประสาทเพื่อสร้างการส่งสัญญาณเซลล์สมองที่มีประสิทธิภาพ กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ชนิดสำคัญ ที่ย่อยสารสื่อประสาทสำคัญที่ส่งผลต่ออารมณ์ เช่น เซโรโทนิน อีพิเนฟรีน โดปามีน และนอร์อิพิเนฟรินด้วย5,6
สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ในชีวิตจริงกล่าวคือ การรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวระดับสูงมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่ดีขึ้นและคะแนนสุขภาพจิตที่ดีขึ้น6-9 การรับประทาน EPA+DHA อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมถึงเกือบ 40% สรุปก็คือ จาก 10 คนที่เริ่มเป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่รับประทานหรือเสริมด้วยอาหารเสริม EPA+DHA มี 4 คนที่จะไม่เป็นโรค หากพวกเขาบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ในขนาดสูงขึ้น
Dr. Daniel Amen และคณะแสดงภาพสแกนสมองขั้นสูงที่บอกว่า การเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวสามารถปรับปรุงการไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณสำคัญของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการรู้คิด10
เสริมจากข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ของประโยชน์จากกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวที่มีต่อสุขภาพสมอง ยังมีการทดลองทางคลินิกอีกกว่า 30 ชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า EPA+DHA ให้ประโยชน์มหาศาลในการปรับปรุงอารมณ์และลดความรู้สึกเครียด8,9
อาหารเสริมน้ำมันปลาและสุขภาพหัวใจ
ประโยชน์จากการเสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวสำหรับสุขภาพระบบหลอดเลือดและหัวใจนั้นเห็นได้จากการทดลองทางคลินิกมากกว่า 300 ชิ้น กรดไขมันเหล่านี้มีประโยชน์นับไม่ถ้วน รวมถึงการปรับปรุงระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด, ปรับปรุงการทำงานของผนังหลอดเลือดและความยืดหยุ่นของหลอดเลือด, ปรับปรุงการส่งเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ และให้ผลเล็กน้อยในการลดความดันโลหิต12
กรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวยังปกป้องการยึดเกาะมากเกินไปหรือ "ความเหนียว" ของเกล็ดเลือด ในขณะที่ไขมันอิ่มตัวและออกซิไดซ์คลอเรสเตอรอลเพิ่มการเกาะกลุ่มกัน ของเกล็ดเลือด แต่ EPA และ DHA และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวจากน้ำมันมะกอก ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชให้ผลที่ตรงกันข้าม ผลประโยชน์ของน้ำมันปลาต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้อาหารที่มีระดับ EPA และ DHA สูงนั้นสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย
ดังที่กล่าวไปข้างต้น ดัชนีโอเมก้า 3 ที่สูงกว่า 8% สัมพันธ์กับการปกป้องโรคหัวใจได้มากที่สุด การรับประทาน EPA และ DHA รวมขนาด 1,000 มก. ทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีค่าดัชนีโอเมก้า 3 ที่บรรลุหรือมากกว่าเป้าหมาย 8%
การเสริมน้ำมันปลาและอาการอักเสบ
การเสริมน้ำมันปลามีส่วนช่วยลดค่าผลเลือดหลายรายการที่บ่งชี้อาการอักเสบ15-17 ผลการศึกษาที่ตรงกันที่สุดเกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งลดการผลิตสารตัวกลางของการอักเสบที่เรียกว่า ไซโตไคน์ ที่ผลิตจากเซลล์เม็ดเลือดขาว และสารบ่งชี้ที่ลดลงคงเส้นคงวาที่สุดคือโปรตีนซี-รีแอกทีฟ (C-reactive) ซึ่งเป็นผลตรวจเลือดที่มักใช้ในการระบุปัจจัยเสี่ยงอิสระสำหรับโรคหัวใจและการอักเสบทั่วไปในร่างกาย การศึกษาทางคลินิกจำนวนหนึ่งได้ยืนยันคุณประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับสภาวะต่างๆ ที่สัมพันธ์ต่อการอักเสบ รวมถึงสภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพข้อ18,19
คำแนะนำสั้นๆ เกี่ยวกับการเลือกแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวที่มีคุณภาพสูง
น้ำมันปลาหลากหลายรูปแบบและผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลในตลาดมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวในระดับความเข้มข้นที่เพียงพอ เกณฑ์ข้อแรกในการเลือกน้ำมันปลาคุณภาพคือความบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์ควรมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวที่มีความเข้มข้นสูง ปราศจากลิพิดเพอร์ออกไซด์ โลหะหนัก สารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และสารประกอบอันตรายอื่นๆ ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลา "เกรดเภสัชภัณฑ์" เหล่านี้มีคุณภาพดีกว่า และโดยทั่วไปมีปริมาณ EPA+DHA อย่างน้อย 60% ไม่ว่ารูปแบบจะเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์หรือเอทิลเอสเตอร์นั้นไม่ได้สำคัญนัก เพราะทั้งสองรูปแบบมีการดูดซึมและผลทางคลินิกที่คล้ายกัน สิ่งสำคัญคือการเสริม EPA+DHA ตามระดับที่แนะนำ ซึ่งสัมพันธ์กับคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยทั่วไปคือ EPA+DHA รวมในขนาด 1,000 มก. ซึ่งหาได้จากน้ำมันกุ้งครีล น้ำมันปลาแซลมอนธรรมชาติ และลิพิดจากทะเลอื่นๆ
ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวที่มีแหล่งที่มาจากสาหร่ายทะเล เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องชี้ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นี้มักให้เพียง DHA เท่านั้นและไม่มี EPA ซึ่งไม่ดีเท่ากับอาหารเสริมที่ให้ทั้ง EPA และ DHA ในระดับความเข้มข้นที่เท่ากัน อีกครั้ง เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางสุขภาพ คุณควรรับประทาน EPA+DHA รวมกันในแต่ละวันควรให้ถึง 1,000 มก. ถึงจะดีที่สุด
แล้วทำไมเราไม่ทานปลาเพิ่มล่ะ
การศึกษามากมายระบุว่า การบริโภคปลาช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยปกป้องจากโรคเรื้อรังมากมาย โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาว อย่างไรก็ตาม ปลาเกือบทั้งหมดมีสารปรอทในปริมาณเล็กน้อย ในกรณีส่วนใหญ่ ปรอทในปลานั้นไม่ค่อยน่ากังวลเพราะระดับที่ต่ำมาก แต่ถ้าคุณทานปลามากๆ ก็อาจเป็นปัญหาได้ การรับประทานสองถึงสี่หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์นั้นเป็นเป้าหมายที่ดี แต่การทานมากกว่านั้นอาจส่งผลเสียได้ ปลาที่มีแนวโน้มว่าจะมีระดับเมทิลเมอร์คิวรีต่ำที่สุดคือปลาแซลมอน ปลาค็อด ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่าน้ำเย็น ปลาดุกที่เลี้ยงในฟาร์ม และปลาเฮอริ่ง ส่วนปลากระโทงดาบ ปลาฉลาม และปลานักล่าขนาดใหญ่อื่นๆ นั้นมักมีปรอทในระดับสูงสุด
สรุปแล้ว การรับประทานน้ำมันปลาคุณภาพสูงหรือกรดไขมันโอเมก้า 3 สายโซ่ยาวจากสาหร่ายทะเลเข้มข้นให้การรับประกันว่า คุณจะได้คุณค่าจากกรดไขมันถึงตามข้อกำหนด โดยไม่มีสารปรอท, PCB (โพลีคลอริเนตเต็ดไบฟีนิล), ไดออกซิน และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ที่มักพบในปลา
ข้อมูลอ้างอิง:
- Harris WS. The Omega-6:Omega-3 ratio: A critical appraisal and possible successor. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 2018 May;132:34-40.
- Lane KE, Wilson M, Hellon TG, Davies IG. Bioavailability and conversion of plant based sources of omega-3 fatty acids - a scoping review to update supplementation options for vegetarians and vegans. Crit Rev Food Sci Nutr. 2022;62(18):4982-4997.
- Sarter B, Kelsey KS, Schwartz TA, Harris WS. Blood docosahexaenoic acid and eicosapentaenoic acid in vegans: Associations with age and gender and effects of an algal-derived omega-3 fatty acid supplement. Clin Nutr. 2014 Mar 14. pii: S0261-5614(14)00076-4.
- Harris WS, Tintle NL, Imamura F, et al. Fatty Acids and Outcomes Research Consortium (FORCE). Blood n-3 fatty acid levels and total and cause-specific mortality from 17 prospective studies. Nat Commun. 2021 Apr 22;12(1):2329.
- von Schacky C. Importance of EPA and DHA Blood Levels in Brain Structure and Function. Nutrients. 2021 Mar 25;13(4):1074.
- Kalkman HO, Hersberger M, Walitza S, Berger GE. Disentangling the Molecular Mechanisms of the Antidepressant Activity of Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acid: A Comprehensive Review of the Literature. Int J Mol Sci. 2021 Apr 22;22(9):4393.
- Bo Y, Zhang X, Wang Y, et al. The n-3 Polyunsaturated Fatty Acids Supplementation Improved the Cognitive Function in the Chinese Elderly with Mild Cognitive Impairment: A Double-Blind Randomized Controlled Trial. Nutrients. 2017 Jan 10;9(1). pii: E54
- Liao Y, Xie B, Zhang H, He Q, Guo L, Subramanieapillai M, Fan B, Lu C, McIntyre RS. Efficacy of omega-3 PUFAs in depression: A meta-analysis. Transl Psychiatry. 2019 Aug 5;9(1):190.
- Su KP, Tseng PT, Lin PY, et al. Association of Use of Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acids With Changes in Severity of Anxiety Symptoms. A Systematic Review and Meta-analysis. JAMA Network Open. 2018;1(5):e182327.
- Amen DG, Harris WS, Kidd PM, Meysami S, Raji CA. Quantitative Erythrocyte Omega-3 EPA Plus DHA Levels are Related to Higher Regional Cerebral Blood Flow on Brain SPECT. J Alzheimers Dis. 2017;58(4):1189-1199
- Drenjančević I, Pitha J. Omega-3 Polyunsaturated Fatty Acids-Vascular and Cardiac Effects on the Cellular and Molecular Level (Narrative Review). Int J Mol Sci. 2022 Feb 14;23(4):2104.
- Jiang H, Wang L, Wang D, Yan N, Li C, Wu M, Wang F, Mi B, Chen F, Jia W, Liu X, Lv J, Liu Y, Lin J, Ma L. Omega-3 polyunsaturated fatty acid biomarkers and risk of type 2 diabetes, cardiovascular disease, cancer, and mortality. Clin Nutr. 2022 Aug;41(8):1798-1807.
- Cabiddu MF, Russi A, Appolloni L, Mengato D, Chiumente M. Omega-3 for the prevention of cardiovascular diseases: meta-analysis and trial-sequential analysis. Eur J Hosp Pharm. 2022 May;29(3):134-138.
- Jiang L, Wang J, Xiong K, Xu L, Zhang B, Ma A. Intake of Fish and Marine n-3 Polyunsaturated Fatty Acids and Risk of Cardiovascular Disease Mortality: A Meta-Analysis of Prospective Cohort Studies. Nutrients. 2021 Jul 9;13(7):2342.
- Kavyani Z, Musazadeh V, Fathi S, Hossein Faghfouri A, Dehghan P, Sarmadi B. Efficacy of the omega-3 fatty acids supplementation on inflammatory biomarkers: An umbrella meta-analysis. Int Immunopharmacol. 2022 Oct;111:109104.
- Shibabaw T. Omega-3 polyunsaturated fatty acids: anti-inflammatory and anti-hypertriglyceridemia mechanisms in cardiovascular disease. Mol Cell Biochem. 2021 Feb;476(2):993-1003.
- Tan A, Sullenbarger B, Prakash R, et al. Supplementation with eicosapentaenoic acid and docosahexaenoic acid reduces high levels of circulating proinflammatory cytokines in aging adults: A randomized, controlled study. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids. 2018 May;132:23-29.
- Oppedisano F, Bulotta RM, Maiuolo J, Gliozzi M, Musolino V, Carresi C, Ilari S, Serra M, Muscoli C, Gratteri S, Palma E, Mollace V. The Role of Nutraceuticals in Osteoarthritis Prevention and Treatment: Focus on n-3 PUFAs. Oxid Med Cell Longev. 2021 Dec 10;2021:4878562.
- Kostoglou-Athanassiou I, Athanassiou L, Athanassiou P. The Effect of Omega-3 Fatty Acids on Rheumatoid Arthritis. Mediterr J Rheumatol. 2020 Jun 30;31(2):190-194.