6 รูปแบบที่แตกต่างกันของวิตามินซีและวิธีการใช้
DISCLAIMER
บล็อกนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การวินิจฉัย...
ในบทความนี้:
- ภาวะขาดวิตามินซีพบได้บ่อยเพียงใด
- วิธีการวัดระดับวิตามินซีในร่างกาย
- ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามินซี
- อาการของภาวะขาดวิตามินซี
- แหล่งที่มาของวิตามินซีในผลไม้
- แหล่งที่มาของวิตามินซีในผัก
- ประโยชน์ต่อสุขภาพของวิตามินซี
- 1. กรดแอสคอร์บิก
- 2. แอสคอร์เบทและวิตามินซีเมตาโบไลท์ (Ester-C®)
- 3. วิตามินซีที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)
- 4. ไลโปโซมอลวิตามินซี (Liposomal Vitamin C)
- 5. แอสคอบิลพัลมิเตท (Ascorbyl Palmitate)
- 6. วิตามินซีที่มีโรสฮิป (Rose Hips)
- วิตามินซีปลอดภัยหรือไม่
วิตามินซีหรือที่เรียกกันในชื่อว่ากรดแอสคอร์บิกหรือแอสคอร์เบตเป็นหนึ่งในวิตามินที่มีการวิจัยมากที่สุดในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา การค้นหางานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์เปิดเผยให้ทราบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับวิตามินซีมากกว่า 65,000 ครั้งในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าในอดีตร่างกายมนุษย์สามารถผลิตวิตามินซีได้ แต่เนื่องจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (ในยีน L-gulonolactone oxidase) เราจึงสูญเสียความสามารถนี้ไปตามกาลเวลา โดยพื้นฐานแล้ว ทุกสายพันธุ์ของสัตว์ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ สามารถผลิตวิตามินซีได้ แต่ยกเว้นมนุษย์ ลิง และหนูตะเภา รวมถึงค้างคาว นก และปลาบางสายพันธุ์ ดังนั้น เราซึ่งเป็นมนุษย์จะต้องบริโภควิตามินซีในอาหาร
ปัจจุบัน ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowance หรือ RDA) สำหรับวิตามินซีคือ 90 มก. ต่อวันสำหรับผู้ชายและ 75 มก. ต่อวันสำหรับผู้หญิง ผู้ที่สูบบุหรี่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 400 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากออกซิเดชันที่มากเกินขนาดอันมีสาเหตุจากบุหรี่จะมีความต้องการมากกว่า ทั้งนี้เพื่อรักษาระดับวิตามินที่ดีต่อสุขภาพ สมองและต่อมหมวกไตมีวิตามินซีเข้มข้นมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าที่พบในเลือด 15 ถึง 50 เท่า วิตามินซีซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระยังเป็น "ปัจจัยร่วม" ของเอนไซม์สำหรับปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างน้อยแปดอย่าง
แม้ว่าปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับในแต่ละวัน (RDA) ตามมาตรฐานนั้นเพียงพอที่จะช่วยหลีกเลี่ยงสภาวะเจ็บป่วยอย่างเช่นโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะขาดวิตามินซีขั้นรุนแรง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะให้ประโยชน์อื่นต่อสุขภาพที่เชื่อว่าจะได้รับ รวมถึงการส่งเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันและระบบหัวใจหลอดเลือด สมอง และสุขภาพผิวหนัง บางคนได้เสนอแนะว่าปริมาณการบริโภควิตามินซีขั้นต่ำนี้ควรเป็นอย่างน้อย 200 มก. ต่อวัน เพื่อให้ได้ประโยชน์โดยสมบูรณ์ของวิตามินซีที่เหมาะสมที่สุด
ภาวะขาดวิตามินซีพบได้บ่อยเพียงใด
จากการศึกษาในปี 2004 ในหมู่ชาวอเมริกัน เพศชายร้อยละ 14 และเพศหญิงร้อยละ 10 มีภาวะขาดวิตามินซี นอกจากนี้ ร้อยละหกของเด็กที่มีอายุ 12 ถึง 17 ปีก็มีระดับที่ไม่เพียงพออีกด้วย ร้อยละ 17 ของเพศชายที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 64 ปีมีภาวะขาด ส่วนร้อยละ 12 ของเพศหญิงในกลุ่มประชากรเดียวกันนั้นมีระดับเลือดต่ำ การศึกษาในปี 1999 ในอังกฤษพบว่าร้อยละ 33 ของกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีเหล่านั้นบริโภควิตามินซีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
การศึกษาในปี 2009 ใน The American Journal of Clinical Nutrition พบว่ามากกว่าร้อยละ 7 ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปขาดวิตามินซีเมื่อมีการตรวจเลือด ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่งบริโภคอาหารที่มีวิตามินซีมากในปริมาณที่ต่ำเกินไป
ผมได้เห็นมาแล้วด้วยเช่นกันในการรักษา ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ผมได้วินิจฉัยผู้ป่วยอย่างน้อยสี่รายว่าเป็นโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นโรคที่ในอดีตพบบ่อยในกะลาสีชาวอังกฤษที่ไม่ค่อยมีผลไม้สดให้ทาน ผู้ป่วยรายแรกของผมที่เป็นโรคลักปิดลักเปิดคือผู้หญิงอายุ 40 ปีที่สูบบุหรี่และยอมรับว่าเธอทานอาหารที่ไม่ดี เธอกังวลเกี่ยวกับการที่เธอมีเลือดออกตามไรฟันและการเกิดรอยช้ำบนผิวหนังอย่างง่ายดาย และหลังจากที่ทันตแพทย์ของเธอยืนยันว่าไม่มีโรคเหงือก ผมจึงสั่งให้ทำการตรวจเลือดซึ่งยืนยันว่ามีการขาดวิตามินซี จึงนำไปสู่การวินิจฉัยโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟันและอาการฟกช้ำของเธอดีขึ้นหลังจากที่มีการเสริมวิตามินซีไปสองสามสัปดาห์ ผู้ป่วยอีกสามรายก็มีรอยช้ำและเลือดออกตามไรฟันอย่างมีนัยสำคัญเป็นอาการเริ่มแรกด้วยเช่นกัน
วิธีการวัดระดับวิตามินซีในร่างกาย
มีสองวิธีหลักที่สามารถใช้ในการวัดวิตามินซีในร่างกาย วิธีแรกคือระดับน้ำเหลืองของเลือด สำหรับผู้หญิง ระดับที่ปกติจะอยู่ระหว่าง 0.3-2.7 mg/dL ส่วนระดับปกติสำหรับผู้ชายคือ 0.2-2.1 mg/dL วิธีที่สองคือการตรวจสอบระดับวิตามินซีในเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือ leukocytes ช่วงค่าอ้างอิงจะขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการดังกล่าว
ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดวิตามินซี
- อาหารที่ไม่ดี รวมถึงการบริโภคผักและผลไม้ต่ำ
- การสูบบุหรี่ (บุหรี่แต่ละมวนจะทำให้วิตามินซีประมาณ 40-60 มก. เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน)
- การสัมผัสมลพิษทางอากาศ
- การสัมผัสโลหะหนัก (ตะกั่ว, ปรอท)
อาการของภาวะขาดวิตามินซี
- การเกิดรอยช้ำ
- ความเหนื่อยล้า
- ภาวะซึมเศร้า
- เลือดออกตามไรฟัน
- ความเจ็บปวดข้อต่อ
- ความเจ็บปวดกระดูก
- การปวดกล้ามเนื้อ
- การบวม
แหล่งที่มาของวิตามินซีในผลไม้
- อะเซโรลาเชอร์รี
- อาโวคาโด
- ฝรั่ง
- มะละกอ
- มะม่วง
- ส้ม
- สับปะรด
- แคนตาลูป
- กีวี
- สตรอว์เบอร์รี
แหล่งที่มาของวิตามินซีในผัก
- พริกยักษ์
- บอคชอย (กวางตุ้งฮ่องเต้)
- บรอกโคลี
- กะหล่ำปลี
- ผักคะน้าใบหยัก
- กะหล่ำดาว
- มันฝรั่ง
ประโยชน์ต่อสุขภาพของวิตามินซี
- ช่วยรักษาภาวะเลือดจางโดยการเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก
- คอลลาเจนและสุขภาพผิว
- สุขภาพหัวใจ
- การสนับสนุนภูมิคุ้มกัน
- ความจำดี
- ช่วยป้องกันโรคปริทันต์
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนบน/ไข้หวัด
- ช่วยป้องกันอาการชัก
- ช่วยป้องกันภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (การติดเชื้อในกระแสเลือด)
นอกเหนือจากประโยชน์หลายประการที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น วิตามินซียังดูเหมือนจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในห้องไอซียู การศึกษาแบบการวิเคราะห์อภิมานในปี 2019 เกี่ยวกับสารอาหาร ซึ่งพิจารณาการศึกษามากกว่า 18 ครั้งในผู้ป่วยมากกว่า 2,000 รายได้ระบุไว้ว่าผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มีการเสริมด้วยวิตามินซีจะลดการอยู่ในห้องไอซียูได้ร้อยละ 8 ถึง 18 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวิตามินซี
วิตามินซีมีชนิดสูตรที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภค
1. กรดแอสคอร์บิก
กรดแอสคอร์บิกเป็นรูปแบบที่บริโภคกันมากที่สุดและยังเป็นรูปแบบที่ราคาถูกที่สุดของวิตามินซีที่มีจำหน่ายอีกด้วย อย่างไรก็ดี องค์ประกอบที่เป็นกรดอ่อนอาจทำให้เป็นเรื่องยากต่อระบบการย่อยอาหารของบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหากรดในกระเพาะอาหาร การศึกษาจำนวนมากใช้วิตามินซีสูตรนี้ แม้ว่ากรดแอสคอร์บิกจะผลิตขึ้นโดยการสังเคราะห์ แต่ก็เป็นสูตรที่เหมือนกับที่พบในธรรมชาติ เนื่องจากการศึกษาเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว มีการดูดซึมเพียงร้อยละ 30 ของปริมาณที่ให้เท่านั้น บรรดานักวิจัยจึงได้แสวงหาสูตรอื่นที่อาจจะมีการดูดซึมได้ดีกว่าในระบบทางเดินอาหารด้วย กรดแอสคอร์บิกมีจำหน่ายในรูปแบบเป็นเม็ด เป็นแคปซูล หรือเป็นผง ต่อไปนี้คือแอสคอร์เบทของแร่ธาตุ
- แคลเซียมแอสคอร์เบท (Calcium Ascorbate) – สูตรนี้ประกอบด้วยทั้งแคลเซียม (ที่ 100 มก.) และแอสคอร์เบท (ที่ 900 มก.) ซึ่งผู้ที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนไปด้วยในเวลาเดียวกันควรพิจารณา ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งก็คือก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารน้อยกว่าสูตรที่เป็นกรดแอสคอร์บิก แต่ช่วยรักษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ตามข้อมูลของการศึกษาในปี 2018
- แมกนีเซียมแอสคอร์เบท (Magnesium Ascorbate) – สูตรนี้ประกอบด้วยทั้งแมกนีเซียม (50 ถึง 100 มก.) และแอสคอร์เบท 900 มก. สูตรนี้อาจเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่กำลังรับประทานยาที่ทำให้แมกนีเซียมลดลง (เช่น ยาลดกรดและยาขับปัสสาวะ) ผู้ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือผู้ที่เป็นตะคริวที่ขาเป็นประจำ เนื่องจากการขาดแมกนีเซียมยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการใจสั่นหรือภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmias) จึงสามารถพิจารณาให้แมกนีเซียมแอสคอร์เบทกับผู้ที่มีความเสี่ยงได้
- โซเดียมแอสคอร์เบท (Sodium Ascorbate) – สูตรนี้ประกอบด้วยทั้งโซเดียม (~100 มก.) และแอสคอร์เบท 900 มก. ผู้ที่กำลังรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำควรหลีกเลี่ยงสูตรนี้ แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในช่วงการกินอาหารที่มีเกลือต่ำควรรักษาปริมาณโดยรวมต่อวันไว้ที่น้อยกว่า 2,000 มก. แต่แม้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็อาจสะสมเพิ่มขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป
2. แอสคอร์เบทและวิตามินซีเมตาโบไลท์ (Ester-C®)
แอสคอร์เบทและวิตามินซีเมตาโบไลท์ (Ester-C®) เป็นสูตรที่มีการจดสิทธิบัตรของแคลเซียม-แอสคอร์เบทที่มีการค้นพบในช่วงทศวรรษของปี 1980 ซึ่งจะประกอบด้วยวิตามินซีเมตาโบไลท์ในปริมาณเล็กน้อย เช่น calcium threonate, xylonate และ lyxonate รวมถึงกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก (dehydroascorbic) ผู้ผลิตอ้างว่าสูตรนี้ช่วยเพิ่มการดูดซึมและส่งผลให้ได้ระดับวิตามินซีในเลือดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกรดแอสคอร์บิกธรรมดา
การศึกษาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2008 ได้ประเมินระดับน้ำเหลืองของเลือดและเซลล์เม็ดเลือดขาวหลังจากการบริโภคแคลเซียมแอสคอร์เบทเทียบกับกรดแอสคอร์บิกธรรมดา ระดับกรดแอสคอร์บิกในน้ำเหลืองของเลือดมีเท่ากันในทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดี ผู้ที่กินสูตรแคลเซียมแอสคอร์เบทจะมีระดับวิตามินซีในเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงกว่า
3. วิตามินซีที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)
นอกจากนี้ยังมีการนำวิตามินซีไปผสมผสานกับสารต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อว่าไบโอฟลาโวนอยด์อีกด้วย ผู้สนับสนุนสูตรนี้ได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ว่าวิตามินซีที่มีไบโอฟลาโวนอยด์อาจได้รับการดูดซึมที่ดีกว่า การศึกษาครั้งหนึ่งในปี 1988 แสดงให้เห็นว่านี่อาจเป็นความจริง ในการศึกษาดังกล่าว มีการแสดงให้เห็นว่าวิตามินซีที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ได้รับการดูดซึมดีกว่าถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับสูตรที่เป็นกรดแอสคอร์บิกธรรมดา นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้ที่อาจจะเกิดอาการในกระเพาะอาหารจากกรดแอสคอร์บิกอีกด้วย
4. ไลโปโซมอลวิตามินซี (Liposomal Vitamin C)
ไลโปโซมอลวิตามินซีเป็นสูตรที่ดูเหมือนจะมีการปรับปรุงชีวปริมาณออกฤทธิ์หรือคุณสมบัติในการดูดซึม เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึม นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาไลโปโซมอลวิตามินซี ซึ่งเป็นส่วนเคลือบที่ละลายในไขมันที่ช่วยให้โมเลกุลของกรดแอสคอร์บิกผ่านระบบทางเดินอาหารได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวระบุว่าการบริโภควิตามินซีที่มีแคปซูลไลโปโซมหุ้มทางปากจะส่งผลให้เกิดความเข้มข้นของวิตามินซีในเลือดที่มากกว่าสูตรที่ไม่มีการหุ้มแคปซูล อย่างเช่นกรดแอสคอร์บิก แต่จะน้อยกว่าการใช้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาในปี 2020 แสดงให้เห็นว่าไลโปโซมอลวิตามินซีสามารถลดความดันโลหิตที่ขนาดใช้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับวิตามินซีแบบธรรมดาในหนูทดลอง
5. แอสคอบิลพัลมิเตท (Ascorbyl Palmitate)
สูตรนี้ทำให้วิตามินซีซึ่งโดยปกติจะละลายในน้ำกลายเป็นสามารถละลายในไขมันได้ ซึ่งโดยปกติมักจะเติมลงไปในการจัดเตรียมวิตามินซีแบบเฉพาะที่เพื่อให้สามารถดูดซึมทางผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังใช้ในยาเหน็บและใช้เป็นตัวยาถนอมอาหารอีกด้วย บางครั้งมีการนำไปทำการตลาดในนามของ vitamin C ester แต่ไม่ควรนำไปสับสนกับ Ester-C
6. วิตามินซีที่มีโรสฮิป (Rose Hips)
สูตรของวิตามินซีที่มีโรสฮิปโดยปกติจะประกอบด้วยกรดแอสคอร์บิกแบบธรรมดา โรสฮิปเป็นผลของพืชจำพวกต้นกุหลาบและประกอบด้วยวิตามินซีปริมาณสูงที่สามารถดูดซึมได้ดี โรสฮิปยังประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก รวมถึงไลโคพีน ฟีนอล ฟลาโวนอยด์ กรดเอลลาจิก และวิตามินอี
วิตามินซีปลอดภัยหรือไม่
วิตามินซีในทุกสูตรมีความปลอดภัยอย่างยิ่ง โดยมีปริมาณที่บริโภคถึง 2,000 มก. ต่อวันโดยทั่วไปและไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด อาการท้องร่วงหรือท้องเสียมักไม่เกิดขึ้น นอกจากจะบริโภคเกิน 3,000 มก. ต่อวัน แต่หากมีการเพิ่มปริมาณบริโภคประจำวันที่มากอยู่แล้วขึ้นไปอีกถึงสามครั้งต่อวัน ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารก็จะมีแนวโน้มเกิดขึ้นน้อยลง
เอกสารอ้างอิง:
- Hampl JS, Taylor CA, Johnston CS. Vitamin C deficiency and depletion in the United States: the Third National Health and Nutrition Examination Survey, 1988 to 1994. Am J Public Health. 2004;94(5):870‐875. doi:10.2105/ajph.94.5.870
- Gaby, Alan. Nutritional Medicine , Second Edition April 2017
- Harrison FE, May JM. Vitamin C function in the brain: vital role of the ascorbate transporter SVCT2. Free Radic Biol Med. 2009;46(6):719–30. doi: 10.1016/j.freeradbiomed.2008.12.018.
- Levine M, Conry-Cantilena C, Wang Y, et al. Vitamin C pharmacokinetics in healthy volunteers: evidence for a recommended dietary allowance. Proc Natl Acad Sci U S A. 1996;93(8):3704‐3709. doi:10.1073/pnas.93.8.3704
- Hampl JS, Taylor CA, Johnston CS. Vitamin C deficiency and depletion in the United States: the Third National Health and Nutrition Examination Survey, 1988 to 1994. Am J Public Health. 2004;94(5):870‐875. doi:10.2105/ajph.94.5.870
- Bates CJ, Prentice A, Cole TJ, et al. Micronutrients: highlights and research challenges from the 1994-5 National Diet and Nutrition Survey of people aged 65 years and over. Br J Nutr. 1999;82(1):7‐15. doi:10.1017/s0007114599001063
- American Journal of Clinical Nutrition. 2009 Nov;90(5):1252-63. doi: 10.3945/ajcn.2008.27016. Epub 2009 Aug 12.
- Staudte H, Sigusch BW, Glockmann E. Grapefruit consumption improves vitamin C status in periodontitis patients. Br Dent J. 2005;199(4):213‐210. doi:10.1038/sj.bdj.4812613
- Hemilä H, Chalker E. Vitamin C Can Shorten the Length of Stay in the ICU: A Meta-Analysis. Nutrients. 2019;11(4):708. Published 2019 Mar 27. doi:10.3390/nu11040708
- Yung S, Mayersohn M, Robinson JB. Ascorbic acid absorption in humans: a comparison among several dosage forms. J Pharm Sci. 1982;71(3):282‐285. doi:10.1002/jps.2600710304
- Lee JK, Jung SH, Lee SE, et al. Alleviation of ascorbic acid-induced gastric high acidity bycalcium ascorbate in vitro and in vivo. Korean J Physiol Pharmacol. 2018;22(1):35‐42. doi:10.4196/kjpp.2018.22.1.35
- Moyad MA, Combs MA, Vrablic AS, Velasquez J, Turner B, Bernal S. Vitamin C metabolites, independent of smoking status, significantly enhance leukocyte, but not plasma ascorbate concentrations. Adv Ther. 2008;25(10):995‐1009. doi:10.1007/s12325-008-0106-y
- Vinson JA, Bose P. Comparative bioavailability to humans of ascorbic acid alone or in a citrus extract. Am J Clin Nutr. 1988;48(3):601‐604. doi:10.1093/ajcn/48.3.601
- Davis JL, Paris HL, Beals JW, et al. Liposomal-encapsulated Ascorbic Acid: Influence on Vitamin C Bioavailability and Capacity to Protect Against Ischemia-Reperfusion Injury. Nutr Metab Insights. 2016;9:25‐30. Published 2016 Jun 20. doi:10.4137/NMI.S39764
- Khalili A, Alipour S, Fathalipour M, et al. Liposomal and Non-Liposomal Formulations of Vitamin C: Comparison of the Antihypertensive and Vascular Modifying Activity in Renovascular Hypertensive Rats. Iran J Med Sci. 2020;45(1):41‐49. doi:10.30476/ijms.2019.45310